วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 1

การบันทึกครั้งที่ 1 
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

  • ถาม-ตอบ และพูดคุยในเรื่องของ การเรียนรวม ความหมายของเด็กพิเศษ ประเภทของเด็กพิเศษ
  • แจก Course Syllabus แนะแนวหลักการเรียนการสอนในรายวิชานี้
  • ข้อตกลงระหว่างเรียน การเข้าเรียนเวลาไม่เกินเวลา 15 นาที ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซนต์
  • แจกใบปั๊มการมาเรียน

 เข้าสู่เนื้อหา "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"   (Children with special needs )

  1. ความหมายทางการแพทย์   หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
  2. ความหมายทางการศึกษา   หมายถึง  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง จำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนให้ต่างไปจากเด็กปกติเป็นบางส่วน 

พฤติกรรมและพัฒนาการ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล 
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน 
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. พันธุกรรม  เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 
  2. โรคของระบบประสาท  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย  ที่พบบ่อยคืออาการชัก 
  3. การติดเชื้อ  การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม  โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
  5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
  6. สารเคมี   ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุดมีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษระดับสติปัญญาต่ำ    
  7. แอลกอฮอล์  น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  8. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร  
  9. สาเหตุอื่นๆ  
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  2. ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 
แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  •   การซักประวัติ โรคประจำตัว 
  1. โรคทางพันธุกรรม 
  2. การเจ็บป่วยในครอบครัว 
  3. ประวัติฝากครรภ์  
  4. ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
  5. พัฒนาการที่ผ่านมา     
  6. การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง   
  7. ปัญหาพฤติกรรม    
  8. ประวัติอื่นๆ
  • การตรวจร่างกาย
  1. ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
  2. ภาวะตับม้ามโต 
  3. ผิวหนัง
  4. ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  5. ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
  6. ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
  • การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  1. แบบทดสอบ Denver II 
  2. Gesell Drawing Test 
  3. แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล 

รูปประกอบการเรียนวันนี้
















ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการที่ได้เรียนทฤษฎีเนื้อหาของเด็กเรียนรวม และได้ทราบถึงความหมายและประเภทต่างๆของเด็กพิเศษในการที่จะนำไปปฏิบัติการเรียนการสอนกับเด็กปกติและเด็กพิเศษในอนาคต

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเนื้อหาทฤษฎี เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจฟังเนื้อหาทฤษฎี เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนของหลักการทฤษฎีเบื้องต้น ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มาบรรยายให้ความรู้ในวันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น