การบันทึกครั้งที่ 7
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา
โรงเรียนเกษมพิทยา
เปิดสอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล - มัธยมศึกษา) นายเกษม สุวรรณดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีอุดมการณ์ที่ จะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติให้มีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเป็น เยาวชนที่ดีของครอบครัวสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป
โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา
โรงเรียนเกษมพิทยาแผนกอนุบาล
"แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัยคุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน"
ผู้อำนวยการแผนกอนุบาล
ดร. วรนาท รักสกุลไทย
ดิฉันและเพื่อนนัดกันที่หน้าเซเว่นหลังมหาวิทยาลัย เวลา 06.40 เดินทางมาทั้งหมด 5 คน โดยรถแท็กซี่ มาถึงโรงเรียนเกษมพิทยาในเวลา 07.30 นาที พอมาถึงไม่นานโรงเรียนก็เข้าแถวเคารพธงชาติโดยมีพี่ประถมกับพี่มัธยมเข้าแถวอยู่ จากนั้นเมื่อเพื่อนมากันครบทุกคนแล้ว ทางอาจารย์ฝ่ายอนุบาลก็ได้แบ่งกลุ่มย่อยๆออกไปตามห้องเรียนต่างๆในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรวมของเด็กในแต่ละห้อง
ดิฉันได้ศึกษาดู ห้อง อนุบาลปีที่ 1/1
น้องชิชิและน้องภูริ
จากนั้น ครูจุก ซึ่งเป็นฝ่ายดูแลของแผนกปฐมวัย ก็ได้เปิดเพลงเรียกเด็กๆที่กำลังเล่นให้ไปเข้าแถว เพราะได้เวลาเข้าแถวแล้วช่วงเวลาประมาณ 08.30 นาที
ดิฉันเป็นตัวแทนออกไปกล่าวแนะนำตัวและพูดคุยกับเด็กๆ
มีการเต้นออกกำลังกายตอนเช้า
จากนั้นก็เข้าห้องประชุม เพื่อทำข้อตกลงต่างๆ รวมไปถึงการให้ความรู้ด้านต่างๆและรับประทานอาหารว่าง
ในห้องเรียน อนุบาลปีที่ 1/1
วันนี้เด็ก ๆ กำลังปิดโปรเจ็ค หน่วยเค้ก
การสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
ชื่อ น้องชิชิ
อายุ 4 ปี
ประเภท โรคออทิสติก
ด้านที่น้องเด่น คือ หน้าตาน้องน่ารักมากๆ ยิ้มเก่งยิ้มหวานสุดๆ ตัวเล็กแต่แข็งแรง
พฤติกรรมก่อนหน้านี้
- เหม่อลอย มองพัดลม ไม่ค่อยสนใจบุคคลรอบข้าง
- อยู่ไม่นิ่ง แต่น้องก็สามารถนั่งนิ่งๆได้พอสมควร
- ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ เช่น ถอดกางเกง จะสื่อสารว่า อยากเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
- อารมณ์ไม่คงที่ อยู่ๆก็ร้องไห้ หัวเราะบ้าง
- พูดยังไม่ได้ สามารถสื่อสารได้บ้าง แต่ไม่เป็นคำ
- มีการตอบสนองเวลาครูคุยหรือเล่นด้วย จะส่งยิ้มให้และหัวเราะให้
- ทำพฤติกรรมซ้ำๆ
- ไม่สามารถอยู่นิ่งได้เป็นเวลานาน ไม่เข้าใจคำสั่งครูต้องคอยนั่งอยู่ข้างๆ
- ไม่เล่นกับเพื่อน
พฤติกรรมตอนที่สังเกต
- ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
- น้องจะชอบมองพัดลม
- น้องยิ้มเก่ง
- อยู่ไม่นิ่ง
- เหม่อลอย
- เล่นคนเดียว
พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
- การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ
- พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
ชื่อ น้องภูริ
อายุ 7 ปี
ประเภท โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม (Prader-Willi Syndrome)
ด้านที่น้องเด่น คือ น้องจำชื่อเพื่อนได้
พฤติกรรมก่อนหน้านี้
- กินไม่รู้จักอิ่มหรือกินจุ
- พัฒนาการช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
- พูดได้ปกติ แต่ขี้เกียจพูด (ต้องมีของกินมาจูงใจ)
- เก็บของเข้าที่ได้
พฤติกรรมตอนที่สังเกต
- กัดฟัน (อยากจะพูด)
- เหม่อลอย มองพัดลมเหมือนกับน้องชิชิ
- จะนั่งนิ่งๆ เวลาลุกเดินจะเดินไม่ค่อยไหว เหมือนจะล้ม เดินเซ
- จะแสดงอาการตามความรู้สึก
- จะหยุดนิ่งกับสิ่งที่สนใจ
- น้องขว้างบล็อค
- เรียกชื่อเพื่อนได้
- กอดเพื่อน
- เก็บบล็อคใส่ตระกร้า
- เล่นคนเดียว
พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
- การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ
- พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
ภาพเซลฟี่ครูอัญกับ น้องชิชิและน้องภูริ
รวมภาพบรรยากาศกิจกรรม
Project เค้ก ชั้น อนุบาล 1/1
เมื่อดูการเรียนการสอนของเด็กๆเสร็จเรียบร้อยก็ได้เวลารับประทานอาหาร ครูจุกก็เรียกเข้าห้องประชุม ก็เป็นอีกครั้งที่ได้ออกไปเป็นตัวแทน กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้ทางโรงเรียนเกษมพิทยา
"ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะคะที่ให้หนูมีความกล้า กล้าที่จะพูดกล้าที่จะเป็นตัวแทนเพื่อนๆ ถือว่าประสบการณ์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหนูในอนาคตแน่นอนค่ะ อาจจะตื่นเต้นบ้างพูดผิดพูดถูกบ้างก็ขออถัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น